เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Thermometer)

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Thermometer)

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Thermometer) 


     เครื่องวัดอุหภูมิหรือ Digital Thermometer คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวัดอุณหภูมิของวัตถุต่างๆ เช่น ของเหลว, ของแข็ง หรือก๊าซ   ประเภทเซ็นเซอร์ที่ถูกใช้มากที่สุดคือเทอร์โมรีซิสเตอร์ หรือ เทอร์มิสเตอร์ เซ็นเซอร์ประเภทนี้จะเปลี่ยนความต้านทานของตัวมันเอง    เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน วงจรอิเล็กทรอนิกส์จะวัดความต้านทานและแปลงเป็นค่าอุณหภูมิเพื่อแสดงผล หรือส่งสัญญาณทางไฟฟ้าไปควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ

 

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลมี 2 แบบ 


เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer) 


     เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลที่วัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact) ด้วยรังสีอินฟราเรด (IR: Infrared) เป็นการวัดอุณหภูมิจากการ แผ่รังสีความร้อนของวัตถุ บางครั้งเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดจึงถูกเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์แบบไม่สัมผัส เทอร์โมมิเตอร์แบบปืน หรือเลเซอร์ เทอร์โมมิเตอร์ (Laser Thermometer) ในกรณีที่แสงเลเซอร์ถูกใช้ในการช่วยวัดอุณหภูมิ คุณสมบัติของเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด คือ สามารถ วัดอุณหภูมิวัตถุในระยะไกลได้ โดยเป็นการวัดอุณหภูมิพื้นผิว (Surface Temperature) ของวัตถุที่เราต้องการวัดเท่านั้น แม้จะวัดอุณหภูมิของ ของเหลวก็ตาม จะทราบเพียงอุณหภูมิพื้นผิวของของเหลว ไม่ใช่อุณหภูมิภายใน (Core Temperature) ของของเหลว

 

ผลิตภัณฑ์สำหรับ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Thermometer) ที่เราแนะนำ

การเลือกใช้งานเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด 

1. ย่านการวัดอุณหภูมิ (Range) : เลือกย่านการวัดอุณหภูมิให้เหมาะและครอบคลุมย่านการใช้งาน ย่านการวัดยิ่งสูง ราคาก็จะสูงตาม

2. หน่วยการวัดอุณหภูมิ (Unit) : หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียส (ºC) องศาฟาเรนไฮน์ (ºF) องศาเคลวิน (ºK)

3. การปรับตั้งค่า Emissivity : เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนของวัตถุที่อุณหภูมิใดๆ 

4. ความเที่ยงตรง (Accuracy) : ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ต้องการใช้ว่าต้องการความเที่ยงตรงในการวัดค่าอุณหภูมิมากน้อยแค่ไหน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการวัดค่า

5. ระยะห่างจากวัตถุและขนาดของลำส่อง (Distance to Spot Ratio) : วัตถุเป้าหมายต้องมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของลำส่องที่ตกกระทบกับวัตถุเป้าหมาย หากวัตถุเป้าหมายมีขนาดเล็กกว่าลำส่อง ต้องเข้าไปให้ใกล้ขึ้น ความเที่ยงตรงเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นควรแน่ใจว่าวัตถุเป้าหมายมีขนาดใหญ่กว่าสองเท่าของลำส่องก็จะดีที่สุด   


     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด สามารถใช้ได้กับทุกช่วงอายุได้รับความนิยมใช้ในสถานพยาบาลต่างๆ ใช้งานง่าย ปลอดภัยและอ่านค่าความร้อนได้แม่นยำแต่มีราคาแพงกว่าปรอทวัดไข้ประเภทอื่น เครื่องวัดอุณหภูมิประเภทนี้อ่านความร้อนอินฟราเรดจากด้านในของหูหรือหน้าผาก

 

วิธีใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด

  • การวัดไข้ทางหู โดยการใส่เครื่องเข้าไปในรูหู ทำการดึงใบหูเพื่อให้เครื่องวัดอุณหภูมิอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิค่ะ
  • ✿ การวัดไข้ทางหน้าผาก โดยการยิงแสงวัดไข้ไปที่บริเวณหน้าผ้าของลูกน้อย จากนั้นเครื่องก็จะแสดงค่าการวัดไข้ผ่านหน้าจอ

 

ข้อดี/ข้อเสียเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด

  • ✿ ข้อดี สามารถตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายได้แม่นยำ ปลอดภัยและรวดเร็ว
  • ✿ ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง วิธีการใช้และการดูแลรักษาเครื่องอาจมีความยุงยากและควรระมัดระวังมากกว่าแบบอื่นค่ะ

 

ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล

     ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล สามารถใช้งานได้ในทุกช่วงอายุ การใช้งานคล้ายกับปรอทวัดไข้แบบธรรมดาหรือแบบแก้ว แต่ ให้การอ่านที่แม่นยำกว่าผ่านหน้าปัดตัวเลขดิจิทัล มีเสียงเตือนเมื่อค่าอุณหภูมินิ่งและสามารถวัดได้หลายจุดในร่างกาย ได้แก่ การวัดไข้ทางปาก การวัดไข้ทางรักแร้ การวัดไข้ทางทวารหนัก เป็นต้น

 

วิธีการใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล

  • ✿ การวัดไข้ทางปาก เป็นการวัดอุณหภูมิจากใต้ลิ้นโดยให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่ลิ้น เหมาะสำหรับเด็กที่สามารถสื่อสารได้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปรอทวัดไข้นี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะอาจกัดจนปรอทแตกได้ค่ะ
  • ✿ การวัดไข้ทางรักแร้ ด้วยการหนีบปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่ใต้รักแร้ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายแต่อาจได้ผลไม่แม่นยำเท่ากับการวัดทางปากหรือทางทวาร เหมาะสำหรับการวัดไข้ในเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก
  • ✿ การวัดไข้ทางทวารหนัก ด้วยการเสียบปลายเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปทางก้น เป็นวิธีที่นิยกใช้วัดไข้เด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก ซึ่งควรทำอย่างระมัดระวังเพราะการเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บค่ะ

 

ข้อดี/ข้อเสีย ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล

  • ✿ ข้อดี สะดวกใช้งานง่าย มีเสียงแจ้งเตือนเมื่อถึงการอ่านค่าที่แสดงการวัดไข้
  • ✿ ข้อเสีย อาจเสียง่ายเมื่อมีการตกหล่นหรือกระแทก และไม่ควรนำไปล้างน้ำให้เปียกทั้งปรอท ควรเช็ดทำความสะอาดแค่บริเวณส่วนปลายที่ใช้วัดไข้

 

การแปลค่าตัวเลขของปรอท

  • ✿ 41 องศาเซลเซียน ขึ้นไป        เรียกว่า             ไข้สูงมาก
  • ✿ 39-41 องศาเซลเซียน          เรียกว่า             ไข้สูง  
  • ✿ 38-39 องศาเซลเซียน          เรียกว่า             ไข้ปานกลาง
  • ✿ 37-38 องศาเซลเซียน          เรียกว่า             ไข้เล็กน้อย
  • ✿ 36.5-37 องศาเซลเซียน        เรียกว่า             อุณหภูมิปกติ
  • ✿ 35.5-36.5 องศาเซลเซียน      เรียกว่า             อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ

เอกสารอ้างอิง

: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เทอโมมิเตอร์กับการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้, เข้าถึงได้จาก: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/177 : ThaiNurseClub, สัญญาณชีพและการประเมินเบื้องต้น, เข้าถึงได้จาก: http://thainurseclub.blogspot.com/2014/06/blog-post_5022.html : หมอชาวบ้าน, การวัดปรอท, เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/6756

query_phw error