โปรไบโอติก (Probiotic) ยี่ห้อไหนดี

โปรไบโอติก (Probiotic) ยี่ห้อไหนดี


โปรไบโอติก (Probiotic) ยี่ห้อไหนดี

โปรไบโอติก (Probiotic) คืออะไร ?

โปรไบโอติก ( Probiotics) หมายถึง แบคทีเรียในสภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ในรูปที่เป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมื่อรับประทานด้วยปริมาณที่พอเหมาะจะส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค เช่น โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด เป็นที่ทราบกันดีว่า โดยปกติแล้วแบคทีเรียโปรไบโอติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมนมเปรี้ยวส่วนใหญ่ คือแบคทีเรียในกลุ่ม Lactobacilli และ Streptococci แต่จากการศึกษาคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพของแบคทีเรียในลำไส้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า ความจริงแล้ว Bifidobacteria สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในอุตสาหกรรมประเภทนี้ ซึ่งแม้ว่ารสชาติจะไม่ดีเท่าผลิตภัณฑ์ที่หมักจาก Lactobacilli แต่ด้วยประโยชน์ที่มากกว่า จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้รักสุขภาพ โปรไบโอติกส์ก็ยังถูกใช้ในการรักษาโรคทางเดินอาหาร ในการทดลองทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย อาทิ การใช้ Lactobacillus rhamnosus GG ในการบรรเทาและป้องกันอาการท้องร่วงในเด็กทารก การใช้ Bifidobacteria และ Lactobacilli รวมกันในการรักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง และช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากงานวิจัยทางการแพทย์อีกหลายชิ้นที่ยืนยันว่า Bifidobacteria สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของ Probiotics 

  1. แบคทีเรียโพรไบโอติก (probiotic) ผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์เนื่องจาก
  2. กรดแล็กทิก (lactic acid) ที่จุลินทรีย์สร้างจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) เช่น Clostridium perfringens, Salmonella เป็นต้น
  3. ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล (cholesterol) ฟอสฟอลิพิด (phospolipid) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด โดย Lactobacillus acidophilus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะช่วยย่อยสลายคอเลสเตอรอล (choloesterol) และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ผ่านผนังลำไส้
  4. ช่วยในการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากกรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) ผลิตขึ้น จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ทำให้สามารถขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น
  5. ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
  6. สามารถผลิตวิตามินต่างๆ เช่น Vitamin B1, Vitamin B2, vitamin B6, Vitamin B12, biotin (vitamin H) nicotinic acid และ folic acid ได้

มีส่วนช่วยลดแบคทีเรียชนิดไม่ดีในลำไส้ของคนเราได้ แบคทีเรียชนิดไม่ดีลำไส้มักจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือเกิดการอักเสบได้ 

โปรไบโอติกมีส่วนช่วยในด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนี้

ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร

ผลข้างเคียงต่อผิวหนัง

ทำให้เกิดอาการปวดหัว

เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ

เกิดอาการต้านยาปฏิชีวนะ

  1. ต้องอ่านฉลากค่ะ สำคัญมากนะคะ! พลิกดูหลังกล่องเลยว่ามีชื่อสายพันธุ์หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น บาซิลัสโคแอคกูแลน (Bacillus coagulans), แลคโตบาซิลัสอะซิโดฟิลุส (Lactobacilus acidophilus) เป็นต้นค่ะ ถ้าทำโฆษณาบอกว่ามีเชื้อโปรไบโอติก แต่พลิกหลังกล่อง ไม่มีชื่อเชื้อหรือสายพันธุ์จริง ถือว่าแอบอ้างค่ะ หรือถ้าบอกว่ามี yogurt power หรือผงโยเกิร์ตก็ไม่ใช่นะคะ ต้องเป็นชื่อสายพันธ์เท่านั้นค่ะ ตอนนี้ในท้องตลาดไทยที่สามารถยื่นขอองค์การอาหารและยาเป็นโปรไบโอติกจริงมีเพียงไม่กี่แบรนด์ ต้องเพาะเชื้อส่งให้องค์การอาหารและยาเพื่อตรวจเรื่องความปลอดภัยแบบจริงจัง รวมถึงต้องจดแจ้งแบบ สบ.3 เท่านั้นค่ะ ดังนั้นก่อนซื้อ ก่อนทาน เช็คฉลากก่อนเสมอเพื่อจะได้ไม่โดนหลอกหรือแอบอ้างค่ะ
  2. ต้องรู้ว่าสายพันธุ์ที่ทานคืออะไร แล้วสายพันธุ์นั้นเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ตรงกับปัญหาของเราหรือไม่ เพราะแต่ละสายพันธุ์มีความสามารถแตกต่างกันค่ะ
  3. ต้องรู้ปริมาณเชื้อที่ทานว่ามีอยู่เท่าไหร่ หน่วยของเชื้อคือ colony forming unit หรือเรียกสั้นๆว่า CFU โดยปกติแล้วเชื้อกลุ่มที่ไม่มีเกราะหุ้ม เช่น แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus), บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) จะแนะนำให้ทานปริมาณคือ 10-20 พันล้าน CFU ต่อวันหรือมากกว่านั้น ส่วนกลุ่มมีเกราะหุ้มพิเศษ เช่น บาซิลัสโคแอคกูแลน (Bacillus coagulans) จะทานอยู่ 1-2 พันล้าน CFU ต่อวันหรือมากกว่านั้น ถึงเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย
  4. โปรไบโอติกที่ดีต้องมาพร้อมพรีไบโอติกเสมอ เปรียบเสมือนทหารดีที่พกเสบียง ทำงานได้เก่งและพร้อมรบ เรียกรวมกันว่าซินไบโอติก
     

เข้าใจเรื่อง โปรไบโอติก พรีไบโอติก ว่าต่างกันอย่างไร


บทสรุป

โปรไบโอติกคือจุลินทรีย์ชนิดดีที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ ส่วนพรีไบโอติกก็คืออาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีอย่างโพรไบโอติกนั่นเองค่ะ ซึ่งปกติทั้ง 2 อย่างนี้ต้องทำงานร่วมกันเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้ให้ทำงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ รู้อย่างนี้แล้วคนไหนที่รู้สึกว่าท้องไส้ไม่ค่อยสมดุล เดี๋ยวท้องผูก เดี๋ยวท้องเสีย ก็อย่าลืมลองหาอาหารที่เป็นแหล่งของพรีไบโอติก และโพรไบโอติกมาลองทานกันดูนะคะ

back to top

2021-06-17 17:12:41