รถวีลแชร์ (wheelchair) แบบไหนดีที่เหมาะกับคุณ

รถวีลแชร์ มีประโยชน์กับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
รถวีลแชร์ หรือ รถเข็นนั่ง มีความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอย่างมาก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้พิการหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ทั้งยังอำนวยความสะดวกและลดข้อจำกัดในการทำสิ่งต่าง ๆ สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ล้าหรือปวดเมื่อยได้เสมอ การที่ใช้รถเข็นแบบพับได้ จะบรรเทาหรือเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้ ใช้งานได้ง่าย เพราะในการเข็นตัวเองให้ไปในทิศทางตามที่ต้องการ โดยอาจจะไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น รถเข็นแบบพับได้ สามารถนำไปในสถานที่ต่างๆได้ง่าย เพื่อเดินทางไปยังทำธุระยังที่ต่างๆได้ และนำไปเที่ยวกับครอบครัว สามารถพับและกางออกได้แบบสะดวกสบาย
รถวีลแชร์จำเป็นต่อใครบ้าง ?
- เป็นอัมพาต
- มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท หรือได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
- เดินหรือทรงตัวผิดปกติ
- เดินในระยะไกลไม่ได้
- ได้รับบาดเจ็บที่ขาหรือเท้า กระดูกขาหรือเท้าหัก
- การเข็น ผู้ใช้งานจะรู้สึกเหมือนไม่ต้องออกแรงมาก และควรเข็นวีลแชร์ไปยาว ๆ อย่างนุ่มนวล
- การเลี้ยว ให้ดันวงปั่นด้านหนึ่งไปข้างหน้า และดันอีกด้านหนึ่งไปข้างหลังพร้อม ๆ กัน
- การลงทางลาด เพื่อป้องกันการหงายหลัง ควรโน้มตัวไปด้านหน้าและหมุนวงปั่นผ่านมือไปช้า ๆ หากมีประสบการณ์ในการใช้ อาจยกล้อหน้าเพื่อใช้เฉพาะล้อหลังลงทางลาด
- การลงบันไดด้านหน้าโดยมีคนช่วยเหลือ เอนวีลแชร์มาทางด้านหลังจนล้อหน้ายกขึ้นแล้วค่อย ๆ ให้ล้อหลังเลื่อนลงบันไดไปทีละขั้น ระหว่างนี้ผู้ที่นั่งวีลแชร์อาจจับวงปั่นไว้เพื่อช่วยควบคุมรถ และให้ผู้ช่วยอีกคนหนึ่งคอยประคองอยู่ด้านหน้าโดยจับโครงบริเวณรถซึ่งไม่ใช่ที่วางเท้า
- การขึ้นบันไดด้านหลังโดยมีคนช่วยเหลือ เอนวีลแชร์มาทางด้านหลังจนล้อหน้ายกขึ้นแล้วเลื่อนล้อหลังให้ชิดขั้นบันได จากนั้นเอนแล้วยกขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละขั้น โดยผู้ที่นั่งวีลแชร์อาจคอยช่วยดึงวงปั่นไปด้านหลัง ส่วนผู้ช่วยอีกคนคอยจับประคองด้านหน้าบริเวณโครงรถซึ่งไม่ใช่ที่วางเท้า
- การยกล้อ หมุนล้อไปทางด้านหลังจนมืออยู่ที่ตำแหน่ง 10 นาฬิกา และดันไปด้านหน้าอย่างรวดเร็ว ระหว่างนี้ล้อหน้าของวีลแชร์จะยกขึ้น การหมั่นฝึกฝนจะช่วยให้ยกล้อเพื่อข้ามผ่านสิ่งกีดขวางต่าง ๆ อย่างก้อนหิน เนิน และขอบถนนได้อย่างถูกจังหวะ แต่ในระหว่างฝึกฝนควรมีคนคอยช่วยเหลือเผื่อมีเหตุติดขัดด้วย
- ห้ามยืนบนที่พักเท้าขณะเข้าและออกจากรถนั่งคนพิการ
- ระวังอย่างให้นิ้วมือเข้าซี่ล้อและเบรก
- ขณะฝึกขึ้นหรือลงทางลาด ต้องมีผู้ช่วยเหลืออยู่ด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันการหงายหลัง
- อย่าให้การช่วยเหลือในการเข็นรถนั่งคนพิการขึ้นและลง จนกว่าจะมั่นใจว่าสามารถควบคุม
- มีน้ำหนักเบา มีความสะดวกในการขนย้าย และพกพา
- ควรเลือกซื้อรถเข็นอลูมิเนียมอัลลอยด์ เพราะน้ำหนักเบามาก
- เลือกน้ำหนักของผู้นั่งความกว้างของเบาะนั่งพร้อมทั้งมือที่ผู้นั่งถนัด
- ง่ายต่อการเก็บ โดยเพียงพับขึ้นและเดินทางต่อโดยไม่ต้องกังวล
- ง่ายต่อการประกอบและถอดเก็บเพื่อเป้าหมายในการเดินทาง
- เหมาะกับการใช้งานจริงและเหมาะกับผู้ใช้ง่ายเป็นหลัก
- /นกรณีผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อแขนที่แข็งแรงแล้ว รุ่นที่เหมาะสมคือ รถเข็นล้อใหญ่
รถวีลแชร์นั้นมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แต่แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- วีลแชร์แบบขับเคลื่อนด้วยแรงคน เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวผู้ใช้งานโดยใช้มือและแขนเข็นไป เหมาะกับผู้ที่มีกล้ามเนื้อลำตัวส่วนบนแข็งแรงมากพอ
- วีลแชร์แบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องกล ทำงานโดยเครื่องยนต์และต้องใช้แบตเตอรี่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อลำตัวส่วนบนไม่ค่อยแข็งแรง และมีราคาแพงกว่าวีลแชร์ชนิดออกแรง
รถวีลแชร์ยังมีล้อเล็ก กับ ล้อใหญ่ ให้เลือกใช้ 2 แบบ เหมาะกับใคร?
- แบบล้อเล็ก สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีกำลังแขนมากพอที่จะหมุนล้อได้ วีลแชร์ประเภทนี้ จึงจำเป็นจะต้องใช้ผู้ดูแลช่วยในการเข็น แต่ก็มีข้อดีคือมีน้ำหนักเบา ทำให้ผู้ดูแลเข็นได้คล่องตัวมากขึ้น
- แบบล้อใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเคลื่อนที่ด้วยตนเอง แต่มีข้อจำกัดคือต้องเป็นผู้ที่มีกำลังแขนมากพอที่จะออกแรงหมุนล้อได้
รถเข็นล้อใหญ่
รถเข็นล้อเล็ก
รถเข็นพกพา
บทสรุป
ทั้งนี้ เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกวีลแชร์ที่พอดีกับขนาดตัวของผู้ใช้ และมีคุณสมบัติในการใช้งานที่เหมาะสมครบถ้วน ซึ่งแพทย์จะประเมินจากสุขภาพและความแข็งแรงของผู้ป่วย อายุ การเคลื่อนไหว รูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เมื่อนั่งลงแล้วต้องอยู่ในตำแหน่งท่าทางที่พอดี ทั้งความสูงของที่นั่ง ที่พักขา ที่พักหลัง และตำแหน่งแขน นอกจากนี้ ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งาน

2022-09-19 11:30:55