ควบคุมไขมันในเลือด

ควบคุมไขมันในเลือด
ภาวะไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองชนิด ไขมันที่มีปริมาณสูงนี้จะเกาะที่ผนังด้านในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันในอาหาร จะสามารถช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดได้
ภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ การขาดการออกกำลังกาย
ชนิดของไขมันในเลือด
ไขมันในเลือดที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอล (Cholesterol) และไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) โดยทั่วไปในการตรวจไขมันในเลือด แพทย์จะให้ตรวจสารต่าง ๆ ดังนี้
- โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารที่มาจากพืชจะไม่พบโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ แต่จะพบมากในไขมันจากสัตว์ ซึ่งปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร โคเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หากมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และการตีบตันของหลอดเลือด ในอนาคตจะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณโคเลสเตอรอล
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่ง สร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาลและแป้งหรือ จากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่ให้พลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสม ไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ อย่างไรก็ตาม การมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้น
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ
- โรคของต่อมไร้ท่อ โรคตับ โรคไตบางชนิด
- จากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ (ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ นม เนย
- การดื่มสุราเป็นประจำ
- ภาวะขาดการออกกำลังกาย
-
รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เน้นการปรุงโดยการนึ่ง ต้ม
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง.
-
เน้นการรับประทานเต้าหู้และเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเล
-
งดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์ทุกชนิด
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ไขมันในเลือดสูงเท่าไร ถึงอันตราย
ประเภทไขมันในเลือด |
ค่ามาตรฐาน |
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) |
ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร |
คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอชดีแอล (High density lipoprotein; HDL) |
ผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร |
คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ แอลดีแอล (Low density lipoprotein; LDL) |
ไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร |
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) |
ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) |
ดังนั้น หากคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ถือว่า เข้าสู่ภาวะไขมันในเลือดสูง
ควบคุมไขมันในเลือด
บทสรุป
อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรค

2023-06-30 13:25:29