เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ยี่ห้อไหนดี
เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ชนิดพกพา
การใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด แผ่นตรวจน้ำตาล และ เข็มตรวจเบาหวาน ด้วยตนเองชนิดพกพา ซึ่งเราสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานปรับการดูแลตนเองได้ทันที เช่น เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อแตก หิว) สามารถนำเครื่องตรวจน้ำตาลมาตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง และสามารถนำผลตรวจน้ำตาลที่วัดได้มาอ้างอิงในการไขการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ และการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองยังสามารถทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้เรื่องระดับน้ำตาลในเลือด คนที่เป็นโรคเบาหวาน จัดเป็นเรื่องสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมนั้นจะแตกต่างกันไปตลอดทั้งวัน โดยที่ระดับน้ำตาลในเลือดมักจะต่ำที่สุดก่อนอาหารเช้า และ มักจะสูงที่สุดในไม่กี่ชั่วโมงหลังอาหาร จะมีการกำหนดเป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดเป็นช่วงๆ โดยที่การกำหนดเป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ
ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไร จึงถือว่าดี
ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ก่อนอาหาร 80 –120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด หลังอาหาร น้อยกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ก่อนเข้านอน 100 – 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิต
วิธีใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
เตรียมเครื่องตรวจวัด และแถบทดสอบหรือตลับทดสอบ ให้อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน
ปรับระดับความลึกของอุปกรณ์เข็มเจาะเลือดให้เหมาะสมกับสภาพ ความหนาของผิวบริเวณปลายนิ้ว
ล้างมือให้สะอาด และทำให้แห้ง
เจาะบริเวณด้านข้างของปลายนิ้วกลาง หรือนิ้วนาง เจาะเลือดในปริมาณเพียงเล็กน้อยที่บริเวณปลายนิ้ว ไม่ควรบีบเค้น
กรณีที่เลือดไม่เพียงพอ ห้ามเค้นเลือด ให้เพิ่มระดับความลึกของเข็ม และ เจาะเลือดใหม่โดยเปลี่ยนบริเวณที่เจาะ ไม่ซ้ำบริเวณเดิม
ตรวจวัดน้ำตาลในเลือดตามขั้นตอนการตรวจวัดของคู่มือการใช้งานหรือ เอกสารกำกับที่มาพร้อมกับเครื่องตรวจวัด
กดห้ามเลือดบริเวณที่เจาะด้วยสำลีแห้งที่สะอาดจนเลือดหยุด
ทิ้งเข็มที่ใช้แล้วและวัสดุปนเปื้อนอื่น ๆ ในภาชนะที่ป้องกันการแทงทะลุ ก่อนนำไปทิ้งถังขยะ
ข้อควรระวังในการใช้ เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
ปิดฝาให้สนิททันทีหลังเปิดใช้ แผ่นวัดต้องไม่เสื่อมสภาพ
ตรวจสอบวันหมดอายุของแผ่นวัด
เก็บรักษาเครื่องและภาชนะบรรจุแผ่นวัด ไว้ ในที่แห้งและเย็น
ก่อนเจาะ นิ้วต้องสะอาดและแห้ง
หลีกเลี่ยงการเจาะจากบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ
เจาะบริเวณด้านข้างของปลายนิ้ว จะเจ็บน้อยกว่า
ไม่บีบเค้นเลือดบริเวณปลายนิ้ว เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลที่วัดได้ผิดพลาด
ไม่ควรใช้เข็มเจาะมากกว่า 1 ครั้ง
ทำความสะอาดช่องอ่านผลเป็นครั้งคราวเพื่อมิให้คราบเลือด รบกวนการอ่านผล
ควรตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องกับผู้แทนจำหน่าย อย่างสม่ำเสมอ ตามที่กำหนด
การเลือกเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
เลือกเครื่องวัดน้ำตาลที่สามารถอ่านค่าได้อย่างรวดเร็วและใช้ปริมาณเลือดน้อย แสดงผลหลังหยดเลือดลงบนแผ่นทดสอบได้ภายในระยะเวลา 10 วินาทีค่ะ ใช้ปริมาณเลือดไม่เกิน 1 ไมโครลิตร (µL) ต่อครั้ง
ตรวจสอบจำนวนแผ่นทดสอบและเข็มเจาะเลือดให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องวัดน้ำตาล 1 ชุดจะประกอบด้วยเครื่องวัดน้ำตาล กระเป๋าใส่ตัวเครื่อง อุปกรณ์เจาะเลือด เข็มเจาะเลือด และแผ่นทดสอบ เข็มเจาะเลือดและแผ่นทดสอบจำนวน 20 ชิ้นขึ้นไป
เลือกเครื่องวัดน้ำตาลที่มีฟังก์ชันบันทึกผล หากต้องการตรวจสอบผลย้อนหลัง สามารถดูผลย้อนหลัง และจดบันทึกได้อย่างสะดวกสบาย บันทึกค่าน้ำตาลได้จำนวน 100 ข้อมูลขึ้นไป
เลือกเครื่องวัดน้ำตาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หากเป็นเครื่องวัดน้ำตาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล เช่น CE (European Conformity), FDA (Food and Drug Administration) หรือ ISO (International Organization for Standardization) ควรเลือกซื้อเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความผิดพลาดในการอ่านผลได้น้อยที่สุด
ผู้ที่ควรใช้ เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
ผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวด
ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
ผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้
ผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน ต้องการเรียนรู้การดูแลตนเอง
ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดโรค เป็นการรู้จักและป้องกันตัวเองก่อนการเกิดโรค
*หมายเหตุ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือดตามคู่มือนี้เป็นคำแนะนำทั่วไป อาจแตกต่างจาก คู่มือของเครื่อง ให้ปฏิบัติตามคู่มือของเครื่องนั้น ๆ
บทสรุป
เครื่องตรวจน้ำตาลจะมีการทำงานคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม แต่ละเครื่องก็มีฟังก์ชัน การใช้ปริมาณเลือด ความเร็วในการอ่านค่า และความจำในการบันทึกผลที่แตกต่างกัน ซึ่งหากพิจารณาจากการใช้งานและความต้องการเป็นหลัก จะช่วยให้สามารถเลือกเครื่องวัดน้ำตาลที่ตอบโจทย์ที่สุดได้ค่ะ
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้พร้อมคำแนะนำ จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจวิธีการใช้เครื่องวัดน้ำตาลมากขึ้น รวมถึงเป็นแนวทางการเลือกเครื่องตรวจน้ำตาลกันได้นะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการวัดระดับน้ำตาลด้วยตนเอง นอกจากนี้ แม้ว่าการใช้งานครั้งแรกอาจจะยาก แต่หากอ่านคู่มือประกอบอย่างละเอียด รับรองว่าจะช่วยให้ใช้งานได้ถูกต้องและง่ายมากขึ้นแน่นอนค่ะ
2022-02-11 11:05:22