เซนต์จอห์นเวิร์ต St’ John Wort สมุนไพรช่วยนอนหลับ
เซนต์จอห์นเวิร์ต St John's Wort จัดเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ และส่วนใหญ่เป็นการใช้ภายนอกอย่างไรก็ตาม มีการค้นพบว่า สมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ในการรักษาความผิดปกติทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอาการซึมเศร้า
ดังนั้น ในปัจจุบัน สารสกัดของ St John's Wort งได้รับการรับรองในประเทศเยอรมนี และประเทศในสหภาพยุโรปอีกหลายประเทศให้ใช้ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการซึมเศร้าในระดับอ่อนถึงป่านกลาง และใน the German Commission E โดยระบุข้อบ่งใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับอาการความผิดปกติทางจิต อาการซึมเศร้า และวิตกกังวล ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ร.พ. จำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบังคับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ ที่ไม่เข้มงวดนัก
เพราะแพทย์สมุนไพรใช้เป็นยาแผนโบราณเพื่อช่วยทำให้อารมณ์ดี แก้ซึมเศร้าอย่างอ่อน มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหงุดหงิดในสตรีวัยทอง ส่งผลให้ความรู้สึกทางเพศดีขึ้น และมีฤทธิ์สงบประสาท ช่วยยับยั้งการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ช่วยให้นอนหลับ สุขภาพการนอนดีขึ้น ไม่ก่ออาการข้างเคียงใดๆ
เซนต์จอห์นเวิร์ต St’ John Wort เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา โดยเริ่มมีการใช้มาตั้งแต่โบราณเพื่อทำให้อารมณ์ดี แก้ซึมเศร้าอย่างอ่อน แก้อาการหงุดหงิดในสตรีวัยทอง มีฤทธิ์สงบประสาทและยังช่วยยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจึงนิยมนำมาใช้เพื่อช่วยนอนหลับและทำให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น
เซนต์จอห์นเวิร์ต St’ John Wort (Hypericin) ที่เราแนะนำ
ในปัจจุบัน สารสกัดของ St’ John Wort จึงได้รับการรับรองในประเทศเยอรมนี และประเทศในสหภาพยุโรปอีกหลายประเทศให้ใช้ในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการซึมเศร้าในระดับอ่อนถึงปานกลาง (โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาตาม International Classification of Diseases, 10th revision; ICD-10) ทั้งนี้ โดยมีการนำข้อกำหนดมาตรฐานของสมุนไพรนี้ บรรจุอยู่ในตำรายามาตรฐานหลายฉบับด้วยกัน ได้แก่ the European Pharmacopoeia (1999) และใน the German Commission E โดยระบุข้อบ่งใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับอาการความผิดปกติทางจิต อาการซึมเศร้า และวิตกกังวล ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น St’ John Wort จำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร (herbal product) ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบังคับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (US-FDA) ที่ไม่เข้มงวดนัก
นอกจากนี้ผลกระทบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ St’ John Wort ก็คืออัตรปฏิกิริยากับยาอื่น
เนื่องจาก St’ John Wort มีฤทธิ์ในการ induce CYP3A4 กับ P-glycoprotein ซึ่งเป็นเอนไซม์หรือโปรตีนที่ทำหน้าที่ขจัดยาบางชนิดออกจากร่างกาย เมื่อรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ร่วมกับยาหลายชนิดจะทำให้เร่งขับยาออกจากร่างกายทำให้ระดับยาในกระแสเลือกลดลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ไม่ได้ผลในการรักษา
เซนต์จอห์นเวิร์ต ออกฤทธิ์อย่างไร
- ► ใบของเซนต์จอห์นเวิร์ต มีสารที่เรียกว่าไฮเพอริซิน ชื่งช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทในสมองบางตัว
ที่ทำให้อารมณ์ดีขึ้น เช่นซีโรโทนิน
- ► มีฤทธิ์ต้านแบคที่เรีย จึงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
- ► ช่วยยับยั้งการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด
- ► สามารถรักษาโรคนอนไม่หลับ, โรคแผลในกระเพาะอาหาร และอาการปวดประจำเดือนได้อีกด้วย
เซนต์จอห์นเวิร์ต ประโยชน์ในการรักษาโรค
- 1. อาการซึมเศร้าอย่างอ่อน การศึกษาพบว่า เซนต์จอห์นเวิร์ตไม่เพียงจะมีประสิทธิภาพในการรักษา
โรคซึมเศร้าอย่างอ่อนไปจนถึงปานกลาง ยังเป็นยาแก้ชีมเศร้าที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ไม่ก่ออาการข้างเคียงใดๆ ที่ไม่พึ่งปราถนาเหมือนยาอันตรายแผนปัจจุบันอื่นๆ
- 2. ช่วยให้นอนหลับ สรรพคุณสงบระงับของสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ตจะช่วยบรรเทาการนอนไม่หลับ
ชนิดไม่รุนแรง
- 3. วัยหมดประจำเดือน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการหงุดหงิดในสตรีวัยทอง ส่งผลให้ความรู้สึกทางเพศดีขึ้น
- 4. โรคซึมเศร้าที่มีผลจากการเปลี่ยนฤดูกาล ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ตตัวนี้ เป็นสมุนไพรที่จะลดอาการผิดปกติทางอารมณ์ที่มีผลจากการเปลี่ยนฤดูกาลได้ และระงับอาการซึมเศร้าได้ดีอีกด้วย ซึ่งยังพบว่า กลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดเซนต์จอห์นเวิร์ต เกิดจากผลของสารกลุ่ม phloroglucinols เป็นหลัก โดยสารกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสารสื่อประสาทกลุ่มที่เรียกว่า monoamines (MAOs; เช่น serotonin, dopanine, และ norepinephrine เป็นต้น) กลับคืนเข้าสู่เซลล์ประสาท และเนื่องจากสารสื่อประสาทกลุ่มนี้มีส่วนสำคัญต่ออาการซึมเศร้า (ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า จะมีปริมาณของสารสื่อประสาทกลุ่มนี้ในสมองต่ำกว่าคนปกติ) ผลที่เกิดขึ้นคือ สารสื่อประสาทกลุ่ม MAO จะมาคั่งอยู่ที่นอกเซลล์ประสาทมากขึ้น ทำให้บริเวณปลายประสาทมีสภาพเหมือนกับมีสารสื่อประสาทกลุ่ม MAO ในปริมาณที่สูงขึ้น และส่งผลให้อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยพัฒนาไปในทางที่ดี
ยาที่พบว่าได้รับผลกระทบเมื่อใช้ร่วมกับ St’ John Wort
Cyclosporin
Warfarin
Digoxin
Theophylline
Other HIV protease inhibitors (saquinavir, ritonavir, nelfinavir)
HIV non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (efavirenz, nevirapine, delavirdine)
Anticonvulsants (phenytoin, carbamazepine, phenobarbitone)
Oral contraceptives (ยาคุมกำเนิด) มีผลลดการออกฤทธิ์ของยาคุม และมีรายงานการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยได้
ดังนั้นใครที่รับประทานยาเหล่านี้อยู่ควรหลีกเลี่ยงการทำสมุนไพร St’ John Wort เสริม แม้ว่าจะเป็นเพียงสมุนไพรแต่ก็สามารถตีกับยาและทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ต่อการรักษาได้ทั้งนั้น ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา สมุนไพรผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกครั้ง
ข้อควรระวังในการรับประทาน
- เซนต์จอห์นเวิร์ต (St John's Wort) อาจจะทำให้ผิวหนังไวต่อแสงเพิ่มขึ้นในบางคน ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาแก้ซึมเศร้า เว้นแต่จะอยู่ในการดูแลของแพทย์
ข้อมูลอ้างอิง 118. Linde K. St. Johns wort - an overview.ForschKomplementmed. 2009 Jun;16(3):146-55.
119. van der Watt G, Laugharne J, Janca A. Complementary and alternative medicine in the treatment of anxiety and depression. CurrOpin Psychiatry. 2008 Jan;21(1):37-42.
120. Linde K, Berner MM, Kriston L. St Johns wort for major depression. Cochrane Database Syst Rev. 2008 Oct 8;(4):CD000448.
121. Tadros MG, Mohamed MR, Youssef AM, Sabry GM, Sabry NA, Khalifa AE. Involvement of serotoninergic 5-HT1A/2A, alpha-adrenergic and dopaminergic D1 receptors in St. Johns wort-induced prepulse inhibition deficit: a possible role of hyperforin. Behav Brain Res. 2009 May 16;199(2):334-9.
122. Ara I, Bano S. St. Johns Wort modulates brain regional serotonin metabolism in swim stressed rats. Pak J Pharm Sci. 2009 Jan;22(1):94-101.
123. Canning S, Waterman M, Orsi N, Ayres J, Simpson N, Dye L. The efficacy of Hypericumperforatum (St Johns wort) for the treatment of premenstrual syndrome: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. CNS Drugs. 2010 Mar 1;24(3):207-25.
124. van Die MD, Bone KM, Burger HG, Reece JE, TeedeHJ. Effects of a combination of Hypericumperforatum and Vitexagnus-castus on PMS-like symptoms in late-perimenopausal women: findings from a subpopulation analysis. J Altern Complement Med. 2009 Sep;15(9):1045-8.
125. MannelM.Drug interactions with St Johns wort : mechanisms and clinical implications. Drug Saf. 2004;27(11):773-97.
|