กรดไขมันแกมม่า ไลโนเลอิค แอซิด Gamma linoleleic acid
การมีสุขภาพร่างกายที่สมดุลและมีสุขภาพจิตที่ดีเป็นสุดยอดปรารถนาของทุกคน โดยเฉพาะคุณผู้หญิงในระยะก่อนมีประจำเดือน ซึ่งมักมีอาการอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจนอาจทำให้เสียสมดุลชีวิตในช่วงนั้นได้ เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อย สิวขึ้น หรืออารมณ์หงุดหงิดง่าย เป็นต้น แม้จะเป็นอาการตามธรรมชาติที่ผู้หญิงจำนวนมากต้องเผชิญ แต่มีหลายอย่างที่ช่วยบรรเทาภาวะเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการใช้สารอาหารต่างๆ เช่น น้ำมันอีฟนิงพริมโรส น้ำมันโบราจ ตังกุย และขิง
กรดไขมันแกมม่า ไลโนเลอิค แอซิดGamma Linoleic acid ที่เราแนะนำ
อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน หรือกลุ่มอาการ PMS (PREMENSTRUAL SYNDROME) ผู้หญิงก่อนมีประจำเดือนจะมีสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงทำให้อาจเกิดกลุ่มอาการป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการ ดังนี้
-
➤ อาการป่วยทางอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิด ขี้โมโห เครียด คิดมาก กังวล ท้อแท้ หลงลืม บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้าได้
-
➤ อาการป่วยทางร่างกาย เช่น เกิดอาการปวดหรือเจ็บตามบริเวณต่างๆ เช่น เจ็บทรวงอก ต่อมน้ำนม หรือเจ็บหัวนม (Mastalgia) อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บวม ท้องอืด วิงเวียนศีรษะ เป็นสิว อ่อนเพลีย
-
➤ อาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น หน้าท้องขยาย ร่างกายสะสมน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำหนักเพิ่ม อาจเพิ่มได้ถึง 1-2 กิโลกรัม
GLA เกี่ยวข้องกับ PMS อย่างไร
กรดไขมันแกมม่า หรือ GLA (Gamma-Linolenic Acid) เป็นกรดไขมันจำเป็นชนิดหนึ่ง ในกลุ่มโอเมก้า 6 ที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องสร้างจากกรดไขมันจำเป็นคือ ไลโนเลอิก แอซิด หรือ LA (Linoleic Acid) GLA จึงนับเป็นกรดไขมันพิเศษที่ให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามเป็นอย่างมาก โดยช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ลดอาการบวม ปวด แดง ที่เกิดจากการอักเสบ
อ้างอิงจากหนังสือ Fats That Can Save Your Life (Progressive Health Publishing) โดย Robert Erdmann, Ph.D. และ Meirion Jones กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี GLA สามารถช่วยลดอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนได้ถึง 90% เช่น อาการคัดหน้าอก อาการบวม อารมณ์หงุดหงิด และอาการระคายเคือง แพ้ง่าย
เราสามารถพบกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก แอซิด หรือ GLA ได้ในสารอาหารหลายชนิด เช่น น้ำมันอีฟนิงพริมโรส น้ำมันโบราจ ตังกุย และขิง
- 1.น้ำมันอีฟนิงพริมโรส หรือ EPO (EVENING PRIMROSE OIL)
บางคนเรียกว่าน้ำมันเมล็ดอีฟนิงพริมโรส หรือ EPSO (Evening Primrose Seed Oil) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มไขมันหรือลิพิดอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมานาน สารสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน EPO คือกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก แอซิด หรือ GLA ในกลุ่มโอเมก้า 6
EPO ถูกนำมาใช้รักษาหรือป้องกันอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน มีบางรายงานแนะนำขนาดที่รับประทานของ EPO คือ ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน หรือประมาณวันละ 1-2 กรัม โดยรับประทานล่วงหน้า 3 วันก่อนมีอาการ PMS หรือ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน และอาจร่วมกับสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 6 (50 มก./วัน) ธาตุสังกะสี (10 มก./วัน) วิตามินซี (500 มก. – 3 กรัม/วัน) หรือรับประทานผักผลไม้และอาหารทะเลให้มากขึ้น งดชา กาแฟ
- 2.น้ำมันโบราจ (STARFLOWER)
เมล็ดของโบราจให้กรดไขมัน GLA ในปริมาณสูงถึง 24-25% นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันชนิดอื่นๆ อีก เช่น ไลโนเลอิก แอซิด (LA) ปาล์มิติก แอซิด (Palmitic Acid) สเตียริก แอซิด (Stearic Acid) เป็นต้น
- 3.ตังกุย (DONG QUAI)
เป็นพืชในตระกูลพาร์สลีย์ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทางยาคือราก ตังกุยประกอบด้วย เฟรูลิก เอซิด (Ferulic Acid) น้ำมันหอมระเหย รวมถึง Ligustilide ในตำราแพทย์แผนจีน รากของตังกุยมีคุณสมบัติในการปรับสมดุลของระบบเลือดและสมดุลพลังงาน และบ่อยครั้งใช้แก้ปัญหาทางด้านระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรี เป็นสมุนไพรที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศจีน
รากของตังกุยมีประโยชน์ต่อระบบเลือดและช่วยปรับสมดุลพลังงานของชีวิต ใช้บ่อยในสตรีที่มีความผิดปกติขณะมีประจำเดือน ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง ท้องผูก ส่วนในทางซีกโลกตะวันตกใช้ในการปรับเปลี่ยนและควบคุมระบบสืบพันธุ์ของสตรีให้เป็นปกติ ให้ร่วมกับการรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome; PMS) ประจำเดือนมาช้า และอาการในวัยหมดประจำเดือน
- 4.ขิง (GINGER)
ขิงช่วยปกป้องร่างกายจากความชื้นและความหนาวเย็น ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มีหลายส่วน เช่น รากสด เหง้าแห้ง น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากเหง้าแห้ง เป็นต้น ขิงประกอบด้วยสารสำคัญหลัก คือ Gingerol และ Shogaol ช่วยยับยั้งผลของซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว จึงลดอาการปวดประจำเดือนได้
สารอาหารต่างๆ เหล่านี้เมื่อนำผสมผสานกันจะให้คุณประโยชน์ต่างๆ แก่ร่างกาย โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องเผชิญภาวะอาการก่อนมีประจำเดือนที่รบกวนชีวิตประจำวันทุกเดือน
กรดไขมันแกมม่าใช้สำหรับ
กรดไขมันแกมม่า (GLA) เป็นไขมันที่พบได้ในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันโบราจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส นิยมใช้เป็นยารักษาโรค และอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้
★ เส้นเลือดตีบ
★ โรคสะเก็ดเงิน
★ โรคกลากเกลื้อน
★ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
★ เนื้องอกในปาก
★ คอเลสเตอรอลสูง
★ โรคหัวใจ
★ กลุ่มอาการเมตาบอลิก
★ ปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน
★ โรคสมาธิสั้น (ADHA)
★ อาการซึมเศร้า
★ อาการซึมเศร้าหลังคลอด
★ อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS)
★ ไข้ละอองฟาง(เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้)
★ บางคนใช้เพื่อป้องกันมะเร็งและช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตอบสนองต่อยา tamoxifen เร็วขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง 161. Johnson MM, Swan DD, Surette ME, et al. Dietary supplementation with gamma-linolenic acid alters fatty acid content and eicosanoid production in healthy humans. J Nutr. 1997 Aug;127(8):1435-44.
162. Ziboh VA, Naguwa S, Vang K, et al. Suppression of leukotriene B4 generation by ex-vivo neutrophils isolated from asthma patients on dietary supplementation with gammalinolenic acid-containing borage oil: possible implication in asthma. Clin Dev Immunol. 2004 Mar;11(1):13-21.
163. Chang CS, Sun HL, Lii CK, Chen HW, Chen PY, Liu KL. Gamma-linolenic acid inhibits inflammatory responses by regulating NF-kappaB and AP-1 activation in lipopolysaccharide-induced RAW 264.7 macrophages. Inflammation. 2010 Feb;33(1):46-57.
164. Soeken KL. Selected CAM therapies for arthritis-related pain: the evidence from systematic reviews. Clin J Pain. 2004 Jan-Feb;20(1):13-8.
71. Horrobin DF. The effects of gamma-linolenic acid on breast pain and diabetic neuropathy: possible non-eicosanoid mechanisms. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 1993 Jan;48(1):101-4.
72. Ranieri M, Sciuscio M, Cortese AM, et al. The use of alpha-lipoic acid (ALA), gamma linolenic acid (GLA) and rehabilitation in the treatment of back pain: effect on health-related quality of life. Int J Immunopathol Pharmacol. 2009 Jul-Sep;22(3 Suppl):45-50.
73. Hansen TM, Lerche A, Kassis V, et al. Treatment of rheumatoid arthritis with prostaglandin E1 precursors cis-linoleic acid and gamma-linolenic acid. Scand J Rheumatol. 1983;12(2):85-8.
74. Chaggar PS, Shaw SM, Williams SG. Review article: Thiazolidinediones and heart failure. Diab Vasc Dis Res. 2009 Jul;6(3):146-52.
45. Brush MG, Watson SJ, et al. Abnormal essential fatty acid levels in plasma of women with premenstrual syndrome. Am J Obstet Gynecol. 1984 Oct 15;150(4):363–6. |