Propolis พรอบพอริส
พรอบพอริส คือ สารสกัดที่ได้จากผิวของรังผึ้ง มีลักษณะเหนียวคล้ายกาว (ในต่างประเทศจึงนิยมเรียกว่า “Bee glue” หรือกาวผึ้ง) มีเรซินจากยางไม้เป็นส่วนประกอบหลัก 50%, ไขผึ้ง 30%, น้ำมันหอมระเหย 10%, เกสรดอกไม้ 5% และสารประกอบอื่น ๆ ตามธรรมชาติอีก 5% ในทางการแพทย์มีการใช้สารสกัดนี้เพื่อบรรเทาอาการปวด สมานแผล และฆ่าเชื้อมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ปวดฟัน ซึ่งมีใช้มาตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน จวบจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความที่โพรพอลิสเป็นสารสกัดจากธรรมชาติและมีการศึกษาพบว่า พื้นที่และภูมิอากาศของแหล่งผลิตที่แตกต่างกันจะทำให้คุณสมบัติของโพรพอลิสนั้นแตกต่างกันไปด้วย จึงเป็นที่มาของการคัดเลือก “สารสกัดโพรพอลิสเข้มข้นมาตรฐานสแตนดาร์ดไดซ์” เพื่อใช้ทดแทน “สารสกัดบราซิลเลียน กรีน โพรพอลิส” ที่อาจให้ผลเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดูกาล
โพรโพลิส (Propolis) ที่เราแนะนำ
พรอบพอริส เข้มข้นมาตรฐานสแตนดาร์ดไดซ์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “โพรพอลิสเข้มข้น” จึงจัดเป็น Top Class ของสารสกัดโพรพอลิส เพราะต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์จนได้ปริมาณสารสำคัญที่แม่นยำ เที่ยงตรง (ในทุก ๆ ล็อตของการผลิต) และให้ผลการรักษาที่ดีกว่า โดยไม่ต้องกังวลเรื่องประสิทธิภาพของสารสกัดจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศอีกต่อไป
Propolis พรอบพอริส กับ โรคภูมิแพ้ 
ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮิสตามิน หากร่างกายได้รับสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้เข้ามา สารฮิสตามิน (Histamine) จะถูกขับออกจาก แมสต์เซลล์ (Mastcells) ทำให้เกิดอาการแพ้ ปวดบวม เป็นผื่นแดง หรือคันตามผิวหนัง อาการดังกล่าวจะลดลงถ้ามีสารบางอย่างมาสกัดกั้นการขับฮิสตามินออกมา ซึ่งสารประกอบฟลาโวนอยด์ในโพรโพลิสมีฤทธิ์ยับยั้งการขับสารฮิสตามินของแมสต์เซลล์ได้ดี
สารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ทำให้ Propolis โพรโพลิส มีคุณสมบัติเป็นสารฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ
✤ มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา
✤ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
✤ มีคุณสมบัติลดการอักเสบ
✤ บรรเทาอาการปวด ยับยั้งการอักเสบของแผล รวมทั้งอาการผิดปกติอื่นๆของช่องปาก
✤ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก พร้อมทั้งช่วยสมานแผล
✤ ลดการติดเชื้อในช่องปาก ลำไส้ กระเพาะอาหาร และ กระเพาะปัสสาวะ
✤ บำบัดอาการโรคผิวหนังได้หลายชนิด รวมทั้งสิว อาการผื่นคันตามเนื้อตัว และหูด
✤ ในผู้ป่วยโรคหอบหืด มีอาการหอบหืดน้อยครั้งลง การไหลเวียนของอากาศในหลอดลมดีขึ้น และการอักเสบลดลง
Propolis พรอบพอริส ช่วยลดสิวได้อย่างไร
ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับผิวหน้าใส
✤ รักษาและคืนความชุ่มชื่นให้กับผิวหน้า
✤ ช่วยลดอาการอักเสบบวมแดงของสิว
✤ ช่วยลดอาการละคายเคืองบนผิวหน้า
✤ ลดการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรีย
✤ ผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน
✤ เสริมความแข็งแรงของผิวหน้าที่โดนทำลาย
✤ ป้องกันการเกิดสิวใหม่
สรรพคุณเด่นๆ ของพรอพโพลิส 
พรอพโพลิสมีสรรพคุณทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- 1. มีฤทธิ์ฆ่าหรือทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ตลอดจนไวรัสอ่อนกำลังลงจนไม่สามารถแทรกซึมหรือเข้าทำลายร่างกายของมนุษย์ได้ จากการทดลองพบว่าพรอพโพลิสมีฤทธิ์ในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรค รวมไปถึงต่อต้านทำลายแบคทีเรียหลายชนิด เช่น ชนิดที่ทำให้เจ็บคอ และช่วยเสริมฤทธิ์ยาปฏิชีวนะให้เกิดประสิทธิ์ภาพ 10-100 เท่าจากของเดิม มักเป็นส่วนผสมของยาต่างๆ และเมื่อร่างกายได้รับบาดแผลจะช่วยผลิตพรอสตาแกลนดินส์ (Prostagrandins) ทำให้บรรเทาอาการเจ็บปวดคล้ายกับคุณสมบัติของแอสไพริน รวมไปถึงการบำรุงสุขภาพช่องปากที่เกิดจากแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดไปสู่โรคเหงือกโดยปัจจุบันน้ำยาบ้วนปากหลายยี่ห้อยังได้ประยุกต์นำพรอพโพลิสมาใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
- 2. มีฤทธิ์เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ หรืออักเสบได้อย่างดี เช่น โรคภูมิแพ้ เพราะฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ในพรอพโพลิสมีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นเซลส์เม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรค รวมทั้งป้องกันการสึกหรอเสื่อมโทรม และชำรุดเสียหายของเซลส์ในร่างกาย ช่วยดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เต็มที่ช่วยให้บาดแผลมีโอกาสติดเชื้อน้อยลง หรือป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น รวมไปถึงฟลาโวนอยด์นั้นยังมีฤทธิ์ช่วยสกัดกั้นการขับฮิสตามีนซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ได้รับสารแปลกปลอมเข้ามา เกิดเป็นอาการผื่นคัน คันตามผิวหนัง ปอดบวม ได้
นอกจากนี้ฟลาโวนอยด์ยังมีคุณสมบัติในการรักษาโลหิตฝอยให้อยู่ในสภาพที่ดี กระตุ้นการทำงานของวิตามินซีไม่ให้เกิดปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่น หรืออนุมูลอิสระที่เป็นเหตุให้ร่างกายเสื่อมโทรม แก่เร็วอีกด้วย
ประโยชน์ต่อสุขภาพของ Propolis
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า Propolis มีองค์ประกอบของสารเคมีที่แตกต่างกันหลายชนิด ส่งผลให้มีรายงานคุณสมบัติของ Propolis ที่หลากหลาย ได้แก่ ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ทั้งยังต้านการอักเสบ ต้านเนื้องอก ต้านออกซิเดชั่นและชะลอความเสื่อมของเซลล์ แต่ยังสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นเพราะกลไกหรือสารชนิดใดใน Propolis อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยมากมายที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของ Propolis ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการบรรเทาอาการจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ดังนี้
- • แก้เจ็บคอ บรรเทาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
อาการเจ็บหรือระคายเคืองในลำคอสร้างความรำคาญใจให้ใครหลายคน อีกทั้งมักตามมาด้วยอาการคอแห้ง ไอ และเสียงแหบ ทำให้ไม่สามารถพูดคุยได้ตามปกติ ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโทคอกคัสหรือเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ
สุขภาพปากและฟันที่ดีไม่เพียงช่วยเพิ่มความมั่นใจเมื่อยิ้มหรือพูดคุย แต่ยังสามารถป้องกันการเกิดปัญหาภายในช่องปากเมื่อมีอายุมากขึ้นด้วย ซึ่งตัวการสำคัญของปัญหาดังกล่าว คือ แบคทีเรีย ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในช่องปาก หากไม่ดูแลรักษาความสะอาด แบคทีเรียเหล่านั้นอาจเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนเกิดคราบหินปูนสะสม มีกลิ่นปาก และนำไปสู่โรคเหงือกได้
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Propolis
ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Propolis จัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปากและลำคอ ยาอม น้ำยาบ้วนปาก ชนิดรับประทานในรูปแบบเม็ด แคปซูล สารละลายหรือ รูปแบบทาภายนอกเช่น ครีม ขี้ผึ้งหรือโลชั่น ดังนั้นควรพิจารณาถึงข้อควรระวังในการเลือกซื้อและการใช้ ดังนี้
ʕ·ᴥ·ʔ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ Propolis ที่ผ่านการรับรองว่าไม่มีส่วนผสมหรือการเจือปนของสารโลหะหนัก
ʕ·ᴥ·ʔ อ่านฉลากคำเตือนและวิธีใช้ให้ละเอียด โดยปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเสมอ
ʕ·ᴥ·ʔ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Propolis ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์
ʕ·ᴥ·ʔ หากพบอาการแพ้ที่มีลักษณะเป็นผื่นแดง คันตามร่างกาย ปากบวม ตาบวมหรือหายใจไม่ออก ควรพบแพทย์ทันที
ข้อมูลอ้างอิง 1 Brazilian Red Propolis Could Help Treat High Cholesterol Ethanolic Extracts of Brazilian Red Propolis Increase ABCA1 Expression and Promote Cholesterol Efflux from THP-1 Macrophages
Phytomedicine, Volume 19, Issue 5, 15 March 2012, Pages 383–388
2 Propolis Component Could Help Treat Ear Infections Propolis in Diet of Patients May Boost Anti-Cancer Therapies Assessing the Anti-Tumour Properties of Iraqi Propolis in vitro and in vivo
Food Chem Toxicol, 2012 Jan 28.
3 Australian to Study Anti-Inflammatory, Anti-Oxidant Properties of Stingless Bee Propolis Hannah Busch,Fraser Coast Chronicle, 2/24/2012 Propolis in Diet of Patients May Boost Anti-Cancer Therapies , Assessing the Anti-Tumour Properties of Iraqi Propolis in vitro and in vivo Food Chem Toxicol, 2012 Jan 28.
4 AMOROS M., SIMÕES CMO., GIRRE L., SAUVAGER F., CORMIER M. Synergistic effect of flavonoids against herpes simplex virus type 1 in cell culture comparison with the antiviral activity of propolis. J. Nat. Prod.,1992, 55, 1732-40.
5 BANKOVA V., POPOV SS., MAREKOV NL. A study on flavonoids of propolis. J. Nat. Prod., 1983, 46, 478-4.
6 CHENG PC., WONG G. Honey bee products: prospects in medicine. Bee World, 1992, 77, 8-15.
7 KLEINROK Z., BORZECK Z., SCHELLER S., MATRA W. Biological properties and clinical application of propolis: X. Preliminary pharmacological evaluation of ethanol extract of propolis (EEP). Arzneim. Forsch.,1978, 28, 291-2.
8 Lani, R. et al. Antiviral activity of silymarin against chikungunya virus. Sci. Rep. 5, 11421; doi: 10.1038/srep11421 (2015).
9 VOLPERT R., ELSTNER EF. Interactions of different extracts of propolis with leukocytes and leukocytic enzymes. Arzneimitt. Forsch., 1996, 46, 47-51.
10 VOLPERT R., ELSTNER EF. Biochemical activities of propolis extracts II. photodynamic activities. Z. Naturforsch. C., 1993, 48, 858-62.
11. Journal of Ethno pharmacology Seasonal effect on Brazilian propolis antibacterial activity J.MSforcina AFernandesJra C.A.MLopesa VBankovab S.R.CFunaria https://doi.org/10.1016/S0378-8741(00)00320-2
12. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine Volume 2011 (2011), Article ID 254914, 7 pages Research Article : Caffeoylquinic Acids Are Major Constituents with Potent Anti-Influenza Effects in Brazilian Green Propolis Water Extract Tomohiko Urushisaki, 1 Tomoaki Takemura, 1 Shigemi Tazawa, 1 Mayuko Fukuoka, 2,3 Junji Hosokawa-Muto,4 Yoko Araki,1 and Kazuo Kuwata2,3,4 http://dx.doi.org/10.1155/2011/254914 |