แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) | 365wecare
365wecare
เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 
แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)

Plant sterol (แพล้นท์สเตอรอล)

 

     สารอาหารจากพืช ช่วยลดหรือควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เป็นที่ทราบกันว่า คอเลสเตอรอลเลว LDL เป็นสาเหตุหนึ่งของการอุดตันหลอดเลือด นำไปสู่โรคหัวใจหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตทั้งหลาย สารสกัดไฟโตสเตอรอล จึงเป็นทางเลือกหลัก โดยอาจนำมาเติมเข้ากับอาหารหลัก หรือผลิตเป็นอาหารเสริม ดูเหมือนว่าหากกลไกอธิบายการควบคุมคอเลสเตอรอล เกิดขึ้นได้จริง ก็เป็นการช่วยลดการดูดซึม LDL คอเลสเตอรอลร้าย โดยไม่มีผลกระทบต่อ HDL และการสร้างคอเลสเตอรอลปกติของตับ จึงช่วยแก้ปัญหาผลกระทบตามมาจากคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เช่น หลอดเลือดอุดตัน แข็งกระด้าง ตีบตัน ความดันสูง สโตรค ฯลฯ

     ในผลิตภัณฑ์แพลนสเตอรอล ยังนิยมเติมสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง (superantioxidants) เช่น โอพีซี เข้าไว้ด้วย เพื่อช่วยปกป้องออกซิเดชั่นต่อสารสำคัญ และยังเข้าไปปกป้อง LDL ส่วนที่มีอยู่แล้วในกระแสเลือด มิให้ถูกอนุมูลอิสระจู่โจมทำลายให้กลายเป็น LDL พิษ เกาะติดผนังหลอดเลือดโดยง่าย

แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) ที่เราแนะนำ

แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ enlightened

     โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน คือการมีระดับไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ
 

 

มีวิธีใดที่ช่วยลดโคเลสเตอรอลได้บ้าง

 

     วิธีที่แรก คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย ซึ่งวิธีนี้จะมีเหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันสูงเล็กน้อยถึงปานกลาง


     วิธีที่สอง คือการใช้ยาช่วยลดการดูดซึมไขมันในเลือด นิยมใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับไขมันสูงมาก ควบคู่ไปกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งในปัจจุบันได้มีการทำวิจัยและทดลองการใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติหลายชนิดที่สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลมาใช้กับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดมากขึ้น เนื่องจากเป็นสารที่หาได้จากธรรมชาติและมีราคาถูกกว่าสารเคมีหรือยาที่ต้องสังเคราะห์ขึ้นมา สารสกัดจากธรรมชาติที่นิยมตัวหนึ่งในวงการแพทย์ ได้แก่ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) และ Plant Stanol
 

 

หลักการทำงานของ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)

 

  •      แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) คือสารสกัดที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับโคเลสเตอรอลในร่างกาย มีกลไกช่วยลดอัตราการดูดซึมโคเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกับโคเลสเตอรอลจึงสามารถเข้าแย่งจับรวมตัวกับไมเซลล์ (Micelle) ในลำไส้เล็กและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแทนไขมันโคเลสเตอรอลตัวจริงได้ ทำให้โคเลสเตอรอลตัวจริงถูกดูดซึมได้น้อยลง ส่งผลให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง


     นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยในหลอดทดลองว่า  Plant Stanol สนับสนุนการทำงานของเซลล์ที่ผนังลำไส้ เพิ่มอัตราการขจัดโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย กลุ่มงานวิจัยในหลายประเทศให้การรับรองการกลไกทำงานของ Plant Stanol เป็นสารช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่ปลอดภัย รวมถึงองค์กร World Heart Foundation ได้กำหนดปริมาณแนะนำไว้ที่ 2 กรัมต่อวัน เพื่อลดระดับโคเลสเตอรอล

 

  •      แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) เป็นสารสกัดที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับคอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยมีการกล่าวถึงสรรพคุณว่าสารสกัดชนิดนี้จะมีกลไกช่วยลดอัตราการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกับคอเลสเตอรอลสามารถจะสามารถเข้าแย่งจับรวมตัวกับคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแทนไขมันคอเลสเตอรอลตัวจริงได้ ทำให้คอเลสเตอรอลตัวจริงถูกดูดซึมได้น้อยลง แต่อย่างไรก็ตามสารนี้เป็นอาหารไม่ใช่ยา อาจจะไม่มีฤทธิ์ในการรักษากรณีมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงไปแล้ว

 

     สารสกัด แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) พบได้ในอาหารเช่นโยเกิรต์ชนิดตัก ชนิดดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มธัญพืชสำเร็จรูป ถั่ว น้ำมันพืช โดยเฉพาะในน้ำมันรำข้าว เนย เนยเทียม มาร์การีน จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงอาหารดังที่กล่าวมาด้วย

 

 

สรรพคุณของ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)
 

     ในสหภาพยุโรปอนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสม แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) และ Plant Stanol เป็นส่วนประกอบในอาหารโดยสามารถแสดงสรรพคุณ หรือ คุณประโยชน์ของอาหารบนฉลากบรรจุภัณฑ์ได้ว่า “ลดโคเลสเตอรอลในเลือด” (lower/reduce blood cholesterol) หรือ “โคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ” (High Cholesterol is a risk factor in the development of coronary heart disease)

     ทั้งนี้ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) มีปริมาณน้อยมากในอาหารตามธรรมชาติ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ อุตสาหกรรมอาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดโคเลสเตอรอล โดยเติมสารสกัด Plant Sterol ลงไป ซึ่งในหลายประเทศได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของ Plant Sterol เช่น โยเกิร์ต กาแฟผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มธัญพืชสำเร็จรูป  เนย เนยเทียม เป็นต้น

 

ประโยชน์จากแพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)


yes  ลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว(LDL) และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสเตอรอลและสตานอล จะเข้ายับยั้งการดูดซึม ควบคุมปริมาณการละลายและการย่อยคอเลสเตอรอลในลำไส้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ คือ เข้าแข่งขันการดูดซึมกับคอเลสเตอรอล ทำให้คอเลสเตอรอลถูกดูดซึมไม่ได้ จึงใช้เป็นสารลดคอเลสเตอรอล

yes  ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดทั้งที่เกิดจากคอเลสเตอรอลและการเกาะกันของเกล็ดเลือดในเส้นเลือด

yes  ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้

yes  ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี 'ไขมันเลว' (LDL)

yes  ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

yes  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

yes  ลดอาการต่อมลูกหมากอักเสบ

yes  ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในต่อมลูกหมาก

yes  ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ

 

คำแนะนำในการรับประทาน 


     ร่างกายควรได้รับไฟโตสเตอรอล จากธรรมชาติ 150-450 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ อาจได้รับไฟโตสเตอรอลจากอาหารสูงถึง 700 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าผู้รับประทานมังสวิรัติ และชาวญี่ปุ่นจะได้รับสเตอรอล จากอาหาร 300-500 มิลลิกรัม ในขณะที่อาหารตะวันตก มีสเตอรอลเพียง 100-300 มิลลิกรัม และสตานอล 20-50 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อมูลอ้างอิง
1.คู่มืออาหารเสริม, ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ 90. Salo P, Wester I. Low-Fat Formulations of Plant Stanols and Sterols. Am J Cardiol 2005 Jul.;96(1):51-54. 91. Weingartner O, Bohm M, Laufs U. Controversial role of plant sterol esters in the management of hypercholesterolaemia. European Heart Journal 2008 Sep.;30(4):404-409. 92. Calpe-Berdiel L. New insights into the molecular actions of plant sterols and stanols in cholesterol metabolism. Atherosclerosis 2009; 93. Shrestha S, Freake HC, McGrane MM, Volek JS, Fernandez ML. A combination of psyllium and plant sterols alters lipoprotein metabolism in hypercholesterolemic subjects by modifying the intravascular processing of lipoproteins and increasing LDL uptake. J Nutr 2007 May;137(5):1165-1170. 94. Badimon L, Vilahur G, Padro T. Nutraceuticals and atherosclerosis: human trials. Cardiovasc Ther 2010 Aug.;28(4):202-215. 95. Normén L, Holmes D, Frohlich J. Plant sterols and their role in combined use with statins for lipid lowering. Curr Opin Investig Drugs. 2005;6:307–16.



Copyright © 2011-2025 www.365wecare.com | Site Map