Isoflavone (สารสกัดถั่วเหลือง)
เป็นโปรตีนที่สกัดจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดได้จากพืช (plant extract protein) จึงเหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานเจ (vegan) และมังสวิรัติ
โปรตีนถั่วเหลืองไอโซเลตผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองสกัด โดยผ่านกระบวนการแยกปริมาณไขมันและคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่า 90% มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตเพียงเล็กน้อยและปราศจากแลคโตส
สารสกัดถั่วเหลือง Isoflavone ที่เราแนะนำ
ประโยชน์ของสารสกัดจากถั่วเหลือง
➤ ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้มีผิวพรรณผ่องใสตามไปด้วย
➤ ช่วยบำรุงไปถึงสมองและเซลล์ประสาท
➤ เอสโตเจนในถั่วเหลือง มีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน ฮอร์โมนของเพศหญิง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลในเรื่องของระบบเลือด จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นสิวที่เกิดจากระบบเลือดไม่ดี
➤ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ช่วยป้องกันในเรื่องโรคต่างๆ เช่น ความดันสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
➤ เส้นใยอาหารสูงในถั่วเหลือง จะช่วยให้มีระบบขับถ่ายที่ดี ลดความเสี่ยงเรื่องโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารทั้งระบบ
➤ กรดอะมิโนในถั่วเหลือง มีส่วนช่วยให้คนที่รับประทานเป็นประจำนอนหลับสนิทขึ้น เนื่องจากกรดดังกล่าวมีการเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเซโรโทนินที่ควบคุมด้านการหลับ
➤ isoflavone ในถั่วเหลือง จะช่วยทำให้กระดูกหนาขึ้น ดังนั้น หากร่างกายได้รับสารเหล่านี้จากการรับประทานถั่วเหลืองในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะได้รับแคลเซียมในอัตราที่พอจะป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ ฉะนั้น ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ที่ร่างกายต้องสูญเสียธาตุแคลเซียม และมักมีปัญหาในเรื่องกระดูกและฟัน จึงควรรับประทานถั่วเหลืองเข้าไปชดเชย
➤ ป้องกันนัยน์ตาจากโรคต้อกระจกได้ด้วย และในเพศชายที่มีปัญหาเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก การได้รับสารนี้เข้าไป ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ดังกล่าว
➤ กรดไขมันไม่อิ่มตัวในถั่วเหลือง ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้
➤ Phytoestrogen ในถั่วเหลือง นอกจากช่วยในเรื่องการลดระดับคอเลสเตอรอลแล้ว ยังมีผลในเรื่องของการยืดหยุ่นหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้ดี
➤ ธาตุเหล็กในถั่วเหลือง โดยช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
➤ ผู้หญิงวัยทอง ควรได้รับประทานถั่วเหลือง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารเอสโตรเจน เข้าไปเสริม
➤ ผู้ป่วยเบาหวาน การรับประทานถั่วเหลือง ไม่ทำให้น้ำตาลเพิ่ม จึงเป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน
➤ ช่วยบำรุงม้ามและลมปราณในร่างกาย
คำแนะนำในการรับประทานสารสกัดถั่วเหลือง
✿ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: รับประทานโปรตีนถั่วเหลืองในปริมาณ 30 กรัมที่มี phytoestrogens เป็นองค์ประกอบในขนาด 132 มิลลิกรัม ต่อเนื่องทุกวันนานถึง 12 สัปดาห์
✿ สำหรับคอเลสเตอรอลสูง: รับประทานโปรตีนถั่วเหลืองในปริมาณ 20-50 กรัมต่อวัน
✿ สำหรับความดันโลหิตสูง: รับประทานโปรตีนถั่วเหลืองในปริมาณ 18-66 กรัม โดยมี isoflavones เป็นองค์ประกอบ 34-143 มิลลิกรัม ทุกวันใช้เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 12 สัปดาห์
✿ สำหรับอาการลำไส้แปรปรวน: รับประทานถั่วเหลืองที่มี isoflavones เป็นองค์ประกอบ 40 มิลลิกรัม ต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันเป็นเวลาต่อเนื่อง 6 สัปดาห์
✿ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะในคนที่เป็นโรคไต: ให้มีการจำกัดการรับประทานเพียง 700-800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของโปรตีนถั่วเหลืองต่อเนื่องทุกวัน
✿ สำหรับอาการวัยหมดประจำเดือน : รับประทานโปรตีนถั่วเหลืองในปริมาณ 15-60 กรัมต่อวันที่ให้สาร isoflavones 34-80 มิลลิกรัม หรือสารสกัดเข้มข้นจากถั่วเหลือง โดยให้ได้รับสาร isoflavone ในปริมาณ 35-200 มิลลิกรัมต่อวัน
✿ สำหรับอาการหมดประจำเดือน เช่น ภาวะซึมเศร้า: รับประทานโปรตีนถั่วเหลืองในปริมาณ 100 มิลลิกรัม ให้ได้รับสาร isoflavone ในปริมาณ 50 มิลลิกรัมต่อวันพร้อมกับให้รับประทานยา sertraline ในขนาด 50 มิลลิกรัมต่อวัน
✿ เพื่อลดน้ำหนักในช่วงวัยหมดประจำเดือน: ให้รับประทานให้ได้สาร isoflavone จากถั่วเหลือง <100 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลาต่อเนื่องนานถึง 6 เดือน
✿ สำหรับภาวะ metabolic syndrome: ให้รับประทานถั่วเหลืองในปริมาณ 30 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 8 สัปดาห์
✿ สำหรับการป้องกันโรคกระดูกพรุน: ให้รับประทานโปรตีนถั่วเหลืองในปริมาณ 40 กรัมต่อวัน ให้ได้รับสาร isoflavone ในขนาด 2-2.25 มิลลิกรัมต่อกรัม รับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน หรือรับประทานสารสกัดจากถั่วเหลืองในปริมาณ 1 กรัมที่มีสาร isoflavone เป็นองค์ประกอบในขนาด 80 มิลลิกรัม รับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี
ข้อควรระวังในการรับประทาน
- ➤ ในผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วเหลือง ควรงดรับประทานเพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงได้เช่น มีผื่นคัน ท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูก เป็นต้น
- ➤ การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำอาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โดยอาการที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ เจ็บส้นเท้า มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง กินนิดเดียวก็อ้วน และอาจทำให้มะเร็งได้
- ➤ ถั่วเหลืองมีสารออกฤทธิ์ที่ทำให้เลือดแข็งตัว (ผู้ที่ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาช่วยต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรรับประทานถั่วเหลือง หรือไม่ควรรับประทานร่วมกัน
ข้อมูลอ้างอิง 1.วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์ล มินเดลล์
2. D.Anna R., Cannata M. L., Marini H., et al. Effects of the phytoestrogen genistein on hot flushes, endometrium, and vaginal epithelium in postmenopausal women: a 2-year randomized, double-blind, placebo-controlled study. Menopause. 2009. 16(2):301–306. doi: 10.1097/gme.0b013e318186d7e2
3. Benefits of Soy Isoflavone Therapeutic Regimen on Menopausal Symptoms. |