Sesame (งาดำ)
งาดำมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา บริเวณประเทศเอธิโอเปีย แล้วแผ่กระจายไปยังอินเดีย จีน และประเทศต่างๆในแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทยด้วย ส่วนในประเทศอินเดียมีการระบุว่ามีการปลูกงามาแล้วหลายพันปี ก่อนที่พ่อค้าชาวอาหรับ และเมดิเตอร์เรเนียลจะนำงาไปปลูกแถบอาหรับ และ ยุโรป
งาดำ Sesame ที่เราแนะนำ
งาดำอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่าง วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 9 แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส สังกะสี เหล็ก เป็นต้น โดยสามารถช่วยบำรุงร่างกายเกือบทุกสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็น ผม ผิวพรรณ กระดูก เล็บ ระบบขับถ่าย การบำรุงหัวใจ จึงเหมาะกับทุกวัย แม้กระทั่งเด็กที่มีอาการป่วยอยู่แล้ว หรือผู้หญิงที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยทอง งาดำจะจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยป้องกันโรคภาวะกระดูกพรุนอย่างได้ผล
ประโยชน์ของงาดำ 
❀ ช่วยชะลอความแก่ คงความอ่อนเยาว์
❀ ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ชุ่มชื้น ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
❀ ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนังของคุณ
❀ ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง และช่วยให้ผมดกเงางาม
❀ ช่วยป้องกันผมหงอก
❀ ช่วยเพิ่มพลังงานและความแข็งแรงของร่างกาย
❀ ช่วยในการเผาผลาญและสลายไขมัน ลดความอ้วน
❀ ช่วยลดการดูดซึมและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล
❀ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
❀ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ทำให้ระบบหัวใจแข็งแรงยิ่งขึ้น
❀ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
❀ ช่วยลดความเครียด
❀ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท
❀ งาดำมีธาตุเหล็กซึ่งช่วยบำรุงโลหิต
❀ ช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด ป้องกันเกล็ดเลือดที่จะเกาะตัวกันเป็นลิ่ม
❀ ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
❀ การรับประทานงาดำพร้อมกันถั่วจะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนอย่างครบถ้วน ซึ่งบางตัวเป็นกรดอมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
❀ ช่วยให้นอนหลับสบาย ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
❀ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด
❀ ช่วยป้องกันการเกิดโรคเหน็บชา และตะคริว
❀ ช่วยบำรุงกระดูกและป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
❀ ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
❀ ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
❀ ช่วยต้านการอักเสบจากโรคข้อเสื่อม ยับยั้งการเสื่อมสลาย
❀ น้ำมันงาสามารถนำมาใช้เป็นยานวดร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อช่วยรักษาเส้นเอ็นอักเสบ
❀ น้ำมันงาช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการปวดเข่า เคล็ดขัดยอก
❀ ผู้รับประทานมังสวิรัตินิยมใส่งาลงในอาหารถั่วเหลืองที่ปรุง เพื่อให้อาหารมีโปรตีนสมบูรณ์มากขึ้น
❀ ประโยชน์งาดำในการนำมาแปรรูปเป็นงาดำแคปซูล
คำแนะนำในการรับประทาน 
- ❀ รักษาอาการปวดตามข้อ ใช้งาคั่วรับประทาน 2-3 ช้อนโต๊ะ 2-3 อาทิตย์
- ❀ รักษาอาการอ่อนเพลีย เมื่อตามร่างกาย รับประทานงาคั่ว 2-3 ช้อนโต๊ะ 2-3 อาทิตย์
- ❀ รักษาอาการเหน็บชา คั่วเมล็ดงา 1 ลิตร ร่วมกับรำข้าว 1 ลิตร และกระเทียมหั่น 1 กำมือ จากนั้นตำบดผสมกัน และผสมน้ำผึ้งหรือน้ำตาลรับประทาน 1 เดือน
- ❀ รักษาอาการคัดจมูก ใช้งาคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับกับข้าวสุกหรือน้ำเต้าหู้รับประทาน 2-3 วัน
- ❀ รักษาอาการเป็นหวัด รับประทานงาคั่ว วันละ 4 ช้อนโต๊ะ
- ❀ รักษาอาการท้องผูก ใช้งาคั่วผสมกับเกลือรับประทานร่วมกับข้าว
- ❀ รักษาอาการปวดประจำเดือน รับประทานงาผง ½ ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง
- ❀ ใช้บำรุงสมอง และระบบประสาท ใช้งาคั่วผสมกับมะขามป้อม และน้ำผึ้ง รับประทานวันละ 1 ครั้ง
วิธีการเลือกซื้อเมล็ดงาดำ 
การเลือกซื้อเมล็ดงาดำมาเพื่อรับประทาน ควรเลือกซื้องาดำที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกเข้ามาเจือปน และไม่ควรซื้อตามร้านขายของชำ เนื่องจากอาจจะมีการเก็บรักษาที่ไม่สะอาด ทำให้มีสิ่งสกปรกจากแมลงเข้ามาเจือปน และไม่ควรซื้อแบบบดสำเร็จมารับประทานเช่นกัน เพราะอาจจะมีเชื้อราติดมาด้วย เมื่อซื้องาดำมาแล้ว การเก็บรักษาให้เก็บในขวดที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เก็บเอาไว้ในที่แห้งเพื่อไม่ให้เสียก่อนเวลาอันควร
ข้อควรระวัง
การรับประทานงาดำแบบป่นดีต่อระบบย่อยอาหารที่สุด แต่งาแบบป่นมักจะเป็นเชื้อราได้ง่ายกว่างาชนิดอื่น ๆ จึงต้องเก็บรักษาดี ๆ ต้องเก็บไว้ให้พ้นความชื้น อากาศ ความร้อนและแสงแดด เพราะเชื้อราทำให้เกิดอาการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ และควรหลีกเลี่ยงการซื้องาดำแบบที่บดสำเร็จแล้ว เพราะอาจมีเชื้อราหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อน นอกจากนี้ตำราอายุรเวทยังระบุด้วยว่า สตรีมีครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกไม่ควรรับประทานงาดำ เพราะงาดำมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือน อาจทำให้แท้งได้
แม้งาดำจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อาหารทุกชนิดล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และรับประทานงาดำอย่างพอเหมาะและถูกวิธี เพื่อให้ได้ประโยชน์จากงาดำมากที่สุด ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพได้อย่างเต็มที่
น้ำมันงาดำมีสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย 
- ❀ งาดำมีสารอาหารที่ช่วยซ่อมแซมและบำรุงผิว ทำให้ผิวไม่เหี่ยวแห้ง
- ❀ ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดำเงางามและแข็งแรง ป้องกันการเกิดผมหงอก
- ❀ ช่วยให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
- ❀ งาดำช่วยป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยขยายหลอดเลือด
- ❀ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันลิ่มเลือด
- ❀ งาดำมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
- ❀ ช่วยลดความเครียด บำรุงระบบประสาทและสมอง
- ❀ งาดำมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยบำรุงเลือด ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและยัง- ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ร่างกายจึงแข็งแรงต่อเชื้อโรค
- ❀ ป้องกันโรคหวัด โรคเหน็บชา ตะคริว
จุดเด่นของน้ำมันงาดำ ต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง 
คือ สารเซซามินที่พบได้เฉพาะแต่ในงาดำมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและไต ส่งเสริมระบบสูบฉีดเลือดให้ภาวะปกติ ส่วนวิตามินอีที่อยู่ในน้ำมันงาดำสกัดเย็น จะช่วยเข้าไปล้างชำระหลอดเลือดให้สะอาด ลดการอุดตันในเส้นเลือดและช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว และตัวไขมันชนิดดี ( HDL ) นั้น จะเข้าไปช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือดของเรา ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือดและหัวใจ ถ้าจะว่ากันด้วยสรรพคุณของน้ำมันงาดำนั้น ก็มีหลากหลายประการ แต่หนึ่งในสรรพคุณที่ผู้รับประทานน้ำมันงาดำสกัดเย็นแล้วนำมาเล่าขานต่อกันถึงคุณประโยชน์สุดดีก็คือ การใช้น้ำมันงาดำสกัดเย็นเพื่อลดอาการปวด ต้านอักเสบของข้อต่างๆในร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม สำหรับสารเซซามินที่พบเฉพาะแต่ในงาดำนั้น มีสรรพคุณเด่นในการช่วยบำรุงหัวใจและไต ส่งเสริมระบบสูบฉีดเลือดให้ดำเนินไปอย่างปกติ ส่วนวิตามินอีที่อยู่ในน้ำมันงาดำสกัดเย็น ลดการอุดตันในเส้นเลือดและช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว และตัวไขมันชนิดดีนั้น จะเข้าไปช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือดของเรา ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือดและหัวใจ การรับประทานน้ำมันงาดำสกัดเย็นซึ่งเป็นอาหารเสริมจากธรรมชาตินั้น สามารถช่วยควบคุมและรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งการรับประทานน้ำมันงาดำอย่างสม่ำเสมอพร้อมอาหารที่ครบหมู่ จะช่วยให้หลอดเลือดเราสะอาด มีความยืดหยุ่น
ข้อมูลอ้างอิง 1. WebMD. Sesame [Website]. 2018[cited 2018 July 11]. Available from: https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1514/sesame
186. Shimizu, S., Akimoto, K., Shinmen, Y., Kawashima, H., Sugano, M., and Yamada, H. Sesamin is a potent and specific inhibitor of delta 5 desaturase in polyunsaturated fatty acid biosynthesis. Lipids. 1991;26(7):512–516
187. Harikumar, K. B., Sung, B., Tharakan, S. T., et al. Sesamin manifests chemopreventive effects through the suppression of NF-kappa B-regulated cell survival, proliferation, invasion, and angiogenic gene products. Mol. Cancer Res. 2010;8(5):751–761
188. Chavali, S. R., Zhong, W. W., Utsunomiya, T., and Forse, R. A. Decreased production of interleukin-1-beta, prostaglandin-E2 and thromboxane-B2, and elevated levels of interleukin-6 and -10 are associated with increased survival during endotoxic shock in mice consuming diets enriched with sesame seed oil supplemented with Quil-A saponin. Int. Arch. Allergy Immunol. 1997;114(2):153–160
189. Wu, J. H. Y., Hodgson, J. M., Clarke, M. W., et al. Inhibition of 20-hydroxyeicosatetraenoic acid synthesis using specific plant lignans: in vitro and human studies. Hypertension. 2009;54(5):1151–1158
190. Miyawaki, T., Aono, H., Toyoda-Ono, Y., Maeda, H., Kiso, Y., and Moriyama, K. Antihypertensive effects of sesamin in humans. J. Nutr. Sci. Vitaminol. 2009;55(1):87–91
|